2551

บริษัท ธารสุวรรณ จำกัด ยื่นข้อเสนอเข้าประมูลในโครงการจัดตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติหลักโดยเอกชนที่จังหวัดปทุมธานี
2552

จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2552 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 80,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาท โดยมีทุนชำระแล้วเป็นจำนวนมูลค่าหุ้นละ 25 บาท รวมมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 20,000,000 บาท
บริษัท ลงนามในสัญญาระยะยาว 20 ปี ในการดำเนินธุรกิจสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน (PMS) ฉบับที่ 1 กับ ปตท. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 โดยสถานีตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีกำลังการอัดก๊าซธรรมชาติตามสัญญาไม่ต่ำกว่า 200 ตันต่อวัน และมีกำลังสำรองการผลิตร้อยละ 25 ตลอดอายุสัญญา
บริษัท เริ่มปฏิบัติการจ่ายก๊าซธรรมชาติตามสัญญาให้กับ ปตท. เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 โดยสามารถอัดก๊าซธรรมชาติให้กับรถขนส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ได้เฉลี่ยวันละประมาณ 250 ตัน (ปทุมธานี)
บริษัท ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่ 1 สำหรับสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชนจังหวัดปทุมธานีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุนในกิจการสำหรับการลงทุนในกิจการ สถานีก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ
2553

ในเดือนตุลาคม บริษัท ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 80,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 800,000หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาท โดยชำระแล้วเป็นจำนวนมูลค่าหุ้นละ 25 บาท โดยบริษัท จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้บริษัท มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งหมด 160,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,600,000 หุ้น และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 100,000,000 บาท
2554

บริษัท ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่ 2 สำหรับสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน จังหวัดสระบุรี จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 โดยได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุนในกิจการสำหรับการลงทุนในกิจการ สถานีก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ
ในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัท ได้ชำระทุนจดทะเบียนเพิ่มเติมอีก 60,000,000 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วเต็มจำนวน 160,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,600,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาท
บริษัท ลงนามในสัญญาระยะยาว 20 ปี ในการดำเนินธุรกิจสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน ฉบับที่ 2 กับ ปตท. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 โดยสถานีตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีกำลังการอัดก๊าซธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 200 ตันต่อวัน และมีกำลังสำรองการผลิตร้อยละ 25 ตลอดอายุสัญญา
บริษัท เริ่มปฏิบัติการจ่ายก๊าซธรรมชาติตามสัญญาให้กับ ปตท. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2554
2555

ในเดือนมิถุนายน บริษัท ได้ทำแก้ไขสัญญาเพิ่มกำลังการอัดก๊าซธรรมชาติ กับ ปตท. สำหรับสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน จังหวัดสระบุรี โดยมีกำลังการอัดก๊าซธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 320 ตันต่อวัน และมีกำลังสำรองการผลิตร้อยละ 25 ตลอดอายุสัญญา
2557

ในเดือนกันยายน ได้จัดตั้งบริษัท เอสเค 15 จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 140.00 ล้านบาท โดยบริษัท ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เพื่อดำเนินธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนตุลาคม ได้จัดตั้ง บริษัท สากล ไบโอแมส พาวเวอร์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 19.00 ล้านบาท โดยบริษัท ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เพื่อประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า
ในเดือนตุลาคม ได้จัดตั้ง บริษัท สากล เอนเนอยี ไบโอแมส พาวเวอร์ 15 จำกัด (เดิมชื่อบริษัท สากล วินด์ พาวเวอร์ จำกัด) ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 62.00 ล้านบาท โดยบริษัท ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เพื่อประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า
ในเดือนธันวาคม บริษัท ดำเนินการเรื่องการขอเพิ่มปริมาณการอัดก๊าซธรรมชาติอีกจำนวน 100 ตันต่อวันกับ ปตท. สำหรับสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชนจังหวัดปทุมธานี
2558

ในเดือนมิถุนายน บริษัท ทำสัญญาเพิ่มเติมในการปรับปรุงคุณภาพก๊าซ สำหรับสถานีก๊าซธรรมชาติที่จังหวัดปทุมธานี
บริษัท ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 202,400,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,024,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาท โดยชำระแล้วเต็มจำนวนรวมบริษัท มีทุนจดทะเบียนทั้งหมด 346,400,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 3,464,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาท
2559

ณ วันที่ 14 กันยายน 2559 บริษัท ได้จดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
2560

บริษัท ได้กำหนดวันที่เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 237.20 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท โดยกำหนดราคาเสนอขายหุ้นละ 1.80 บาท และวันที่ชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 โดยมีผู้จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ทั้งสิ้นจำนวน 237.20 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 426.96 ล้านบาท
บริษัท ได้ขอจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วจำนวน 118,600,000 บาท รวมเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 465.00 ล้านบาท ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 บริษัท จึงมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 465.00 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 930.00 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท
บริษัท เข้าทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรกวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560
2561

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 มีมติอนุมัติให้บริษัท เข้าซื้อกิจการของบริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วของบริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด จำนวน 7,500 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทได้ถือหุ้นของบริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 และวันที่ 6 มีนาคม 2561 บริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนอีกจำนวน 14,000,000 บาท ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเท่ากับ 15,000,000 บาท โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 ตามเดิม
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 มีมติอนุมัติให้บริษัท เข้าซื้อกิจการของบริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วของบริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด จำนวน 2,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัท ได้ถือหุ้นของบริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 และวันที่ 26 มิถุนายน 2561 บริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนอีกจำนวน 257,300,000 บาท ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเท่ากับ 282,300,000 บาท โดยบริษัท ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ตามเดิม
2562

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 บริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินการตามโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ในสถานประกอบการที่มีระบบก๊าซชีวภาพ เพื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ขนาด 6,000- 11,999 กิโลกรัมต่อวันจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 บริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 2,000,000บาท ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และต่อมาวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนอีกจำนวน 4,000,000 บาท จึงทำให้ปัจจุบันบริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด มีทุนจดทะเบียนจำนวน 21,000,000 บาท โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 76
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 บริษัท แม่กระทิง เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ประกอบธุรกิจผลิตและ จำหน่ายไฟฟ้าโดยใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 9.90 เมกะวัตต์ ได้เริ่มมีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 8.00 เมกะวัตต์
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 บริษัท ได้เข้ารับรางวัล Investor Relations Awards 2019 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2563

เดือนเมษายน บริษัทประกาศใช้ระบบ Remote Working Management เต็มรูปแบบ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ระบบบริหารงานภายในและงานทรัพยากรบุคคล จะปรับเป็นระบบ Digital เต็มรูปแบบได้แก่ ระบบการเข้าออกงาน, ระบบการลา, ระบบการอนุมัติ, ระบบการทำงานระหว่างวัน รวมถึงรูปแบบการบริหารงานภายในต่างๆ
2564

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ("ปตท.") ได้แจ้งปริมาณความต้องการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) โดยสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน "PMS" พื้นที่บ้านนา-แก่งคอย เท่ากับศูนย์ตันต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยบริษัท ยังมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมในการอัดก๊าซให้ ปตท. ตลอดเวลา และปตท. ยังคงชำระค่าตอบแทนการลงทุน (AP) ให้กับบริษัทเป็นรายเดือนในอัตราที่กำหนดในสัญญา
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 คณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติให้ขายหุ้นสามัญของ RBF ให้กับ RPG ทั้งหมดจำนวน 159,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ซึ่งได้ชำระเต็มมูลค่าแล้ว คิดเป็นร้อยละ 75.95 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในราคาซื้อขายหุ้นละ 134.16 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 21,400,000 บาท
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 บริษัทขายหุ้นสามัญของ บริษัท อาร์อี ไบโอฟูเอลส์ จำกัด "RBF" ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) โดยขายให้กับ บริษัท อาร์อี พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด ทั้งหมดจำนวน 159,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ซึ่งได้ชำระเต็มมูลค่าแล้ว คิดเป็นร้อยละ 75.95 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในราคาซื้อขายหุ้นละ 134.16 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 21.4 ล้านบาท เป็นผลมาจาก หลังการเข้าซื้อหุ้น RBF ทางบริษัทได้ประเมินผลการดำเนินงานพบว่า RBF มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้คู่ค้าเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด จึงทำให้ RBF ได้รับการตอบรับจากคู่ค้าประเภทอุตสาหกรรมลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้การขาย RBF ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท
ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 วันที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 13.00 น. ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-AGM) ภายใต้มาตรการคัดกรองและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด และได้มีการเว้นระยะห่าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ถือหุ้นและผู้เข้าร่วมประชุม โดยผู้ถือหุ้นได้มีการอนุมัติ ดังนี้
- อนุมัติให้ SKE เข้าซื้อหุ้น บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด "N15" พร้อมรับรู้รายได้ไตรมาส 2 ปีนี้
- อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนของ SKE 93 ล้านบาท จากเดิม 465 ล้านบาท เป็น 558 ล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ 186 ล้านหุ้น
- อนุมัติจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตรา 5 : 1
- อนุมัติจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.015 บาท และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564
ในเดือนพฤษภาคม บริษัทเปิดให้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.80 บาท ในวันที่ 24 – 31 พฤษภาคม 2564 (อัตรา 5 : 1) วัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนครั้งนี้ ก็เพื่อใช้ในการเข้าซื้อกิจการของ บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด "N15"
บริษัทลงนามเข้าซื้อกิจการ บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด "N15" วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยบริษัท ซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดจากบริษัท อัลไพน์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท แคปปิตอล กรีนเทค จำกัด รวมทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบทั้งหมด
บริษัทแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 จำนวน 93 ล้านบาท จากเดิม 465 ล้านบาท เป็น 558 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 186 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท
บริษัทยื่นหนังสือยืนยันรับข้อเสนอยกเลิกสัญญาจ้างอัดก๊าซธรรมชาติของสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน (บ้านนา-แก่งคอย) จังหวัดสระบุรี ให้ ปตท. หลังได้รับอนุมัติจากบอร์ด SKE ในการอนุมัติยกเลิกสัญญาจ้างอัดก๊าซธรรมชาติของสถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน (บ้านนา-แก่งคอย) จังหวัดสระบุรี และสัญญาที่เกี่ยวข้องระหว่าง SKE กับ ปตท. ซึ่งมีระยะเวลาตามสัญญาเหลืออยู่ประมาณ 9 ปี 1 เดือน (ครบกำหนดสัญญาปี 2573)
SKE ตกลงรับข้อเสนอในการจ่ายค่าตอบแทนการลงทุน (AP) เป็นจำนวนเงิน 80 ล้านบาท (ตามมูลค่าปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2563) โดย ปตท. สามารถนำค่าตอบแทนการลงทุน (AP) ที่จ่ายให้กับ SKE แล้วในปี 2564 มาหักลบจากค่าตอบแทนตามข้อเสนอ โดยคาดว่าจะได้รับค่าตอบแทนในไตรมาสแรกของปี 2565
บริษัทได้ชำระค่าหุ้นงวดสุดท้ายมูลค่า 101.5 ล้านบาท แก่ N15 Technology เรียบร้อยแล้ว ด้วยเงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในคราวเดียวกันกับการอนุมัติเข้าซื้อ N15 Technology เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 รวมมูลค่าในการเข้าซื้อทั้งสิ้น 145 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 นายฐิติพงศ์ สีมาไพศาล กรรมการผู้จัดการบริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด "SCIeco" และนายจักรพงส์ สุเมธโชติเมธา กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด "N15 Technology" เป็นตัวแทนในการร่วมลงนามสัญญาซื้อขายเชื้อเพลิงแข็งจากขยะ RDF (Refuse Derived Fuel) ระยะเวลา 3 ปี มีปริมาณการซื้อขายเชื้อเพลิง RDF มากกว่า 400,000 ตัน
ความร่วมมือครั้งนี้ นอกจากเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ยังส่งเสริมการเติบโตธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการใช้พลังงานฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีส่วนสำคัญต่อภาวะโลกร้อน
2565
